พันธกิจของแผนการฝึกอบรม
เนื่องจากโรคและปัญหาทางออร์โธปิดิกส์ รวมถึงภาวการณ์บาดเจ็บกระดูกหักในประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีความซับซ้อน กับในปัจจุบันปัญหาสุขภาพในนระดับชาติเชื่อมโยงกับสังคมผู้สูงอายุ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีพันธกิจในการผลิตแพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่มีครอบคลุมความรู้ ทักษะ ความสามารถในเวชปฏิบัติ และสมรรถนะในการรักษาผู้ป่วยทั้งแบบอนุรักษ์และการผ่าตัด รวมถึงการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน ภาวะเร่งด่วนและภาวะแทรกซ้อนทางออร์โธปิดิกส์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย สังคมและปัญหาสุขภาพในระดับชาติ มีความรับผิดชอบ มีความสามารถทำงานตามหลักพฤตินิสัยและมารยาททางวิชาชีพ มีความสามารถทำงานแบบมืออาชีพ สามารถปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพหรือเป็นทีม สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีความเอื้ออาทรและความใส่ใจความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานการดูแลแบบองค์รวม มีความสามารถในการปฏิบัติงานโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล มีเจตนารมณ์และเตรียมพร้อมที่จะเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถทำวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาการรักษาและทันสมัยมากขึ้น และสามารถชี้นำสังคมในการป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ รักษาโรคและการบาดเจ็บ ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสมกับเศรษฐานะของประเทศ มีพฤติกรรมที่เหมาะสมและให้เกียรติต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ
หลักสูตร 2565
ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม
แพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่จบการฝึกอบรม ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขั้นต่ำตามสมรรถนะหลักทั้ง ๖ ด้านดังนี้
1. การบริบาลผู้ป่วย (Patient care)
1.1 บริบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแแลแบบองค์รวม
1.2 คำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย
1.3 ปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล
2. ความรู้และทักษะหัตถการเวชกรรม (Medical Knowledge and Procedural Skills)
2.1 มีความรู้ที่เหมาะสมและครอบคลุมในสาขาออร์โธิปิดิกส์
2.2 มีทักษะการทำหัตถการที่เหมาะสมครอบคลุมในสาขาออร์โธิปิดิกส์
2.3 ประกอบเวชปฏิบัติได้อย่างครอบคลุมและเหมาะสม
3.ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
3.1 นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 ถ่ายทอดความรู้และทักษะ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์
3.3 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based Learning and Improvement)
4.1 พัฒนาตนเองและเรียนรู้จากการปฏิบัติ
4.2 ปฏิบัติงานเป็นทีมหรือแบบสหวิชาชีพได้
4.3 ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์สาธารณสุขหรือการศึกษาแพทยศาสตร์ และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
5. ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม
5.1 มรจริยธรรมและมารยาทแห่งวิชาชีพ
5.2 มีคุณลักษณะของความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Continuing Medical Education)
5.3 มีการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (Continuous Professional Development)
6.การทำเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-based Practice)
6.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ
6.2 มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
6.3 มีประสบการณ์ในการใชทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม และสามารถปรับการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของระบบ สาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ